วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2557

จงบอกชื่อเว็บไซต์ที่ให้บริการ Search Engine มา 5 มา 5 เว็บไซต์



http://www. go.com




ประโยชน์ที่ได้รับจาก Search Engine


 1.ค่าใช้จ่ายที่คง
ที่ค่าใช้จ่ายในการทำ Search Engine Optimization จะเป็นอะไรที่ค่อนข้างคงที่ ซึ่งในบางครั้งการทำ SEO ในช่วงแรกนั้นจะมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง แต่พอผ่านขั้นตอนแรกไปแล้ว หลังจากนั้นก็จะเป็นขั้นตอนของการบำรุงรักษาอันดับ ค่าบริการสามารถลดลงได้ แต่ในทางกลับกัน การลงโฆษณาแบบ Paid-Search จะค่อนข้างเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

2.ช่วยทำให้เกิดเป็นมาตราฐานและสามารถเข้าถึงได้ของเว็บไซต์
การที่เราจะสร้างเว็บไซต์ให้เป็นที่ชื่นชอบต่อ Search Engine นั้นต้องอาศัยการปฏิบัติอย่างถูกต้อง เนื่องจาก Robots/Crawler นั้นสามารถสังเกตเห็นถึงข้อผิดพลาดของโค้ดได้ เพราะฉะนั้นแล้วการตรวจสอบความถูกต้องของโค้ดนั้นจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อ SEO และประโยชน์ที่จะตามมานั้นก็คือจะช่วยทำให้เว็บไซต์ของเราเป็นมาตราฐานมาก ขึ้นและสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้นเช่นกัน

 3.ช่วยทำให้เกิด Repeat Business
ลูกค้าส่วนใหญ่ที่มาจาก Search Engine โดยส่วนมากค่อนข้างจะใช้บริการเว็บไซต์ของคุณในระยะเวลาที่ยาวนานกว่า ซึ่งนั้นก็หมายถึงเราสามารถที่จะเพิ่มจำนวนลูกค้าประจำเว็บไซต์ของคุณได้ ด้วยการทำ Search Engine Optimization

4.ช่วยสร้างลูกค้าใหม่
การค้นหานั้นเกิดจากความต้องการของผู้เยี่ยมชม เพราะฉะนั้นแล้วผู้เยี่ยมชมที่มาจาก Search Engine โดยส่วนมากจะมีความสนใจในสินค้าหรือบริการ และถ้าหากเว็บไซต์ของเราแสดงเนื้อหา ข้อมูลที่พวกเขาต้องการ การที่พวกเขาเหล่านั้นจะเปลี่ยนเป็นลูกค้าประจำคนใหม่ของคุณนั้นก็มีโอกาส เป็นได้สูงเช่นกัน

5.ช่วยสร้างคอนเทนต์ที่ไม่เหมือนใคร
เป็นที่ยอมรับกันอยู่แล้วว่าคุณภาพของเนื้อหาและเนื้อหาที่เป็นต้นฉบับ นั้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการทำ Search Engine Optimization และโดยธรรมชาติของข้อมูลภายในเครือข่าย WWW (World Wide Web) นั้นเนื้อหาที่ดีย่อมดึงดูดลิงค์เชื่อมโยงจากเว็บไซต์ที่มีคุณภาพ โดยเหตุผลนี้จึงสามารถอธิบายได้ว่าทำไม คุณภาพของเนื้อหาภายในเว็บไซต์จึงเป็นสิ่งสำคัญ

 6.เป็นโปรโมชั่นที่ไม่เคยหลับ
Search Engine นั้นเปรียบได้เทียบเท่ากับบริษัทโฆษณาส่วนตัวของคุณและทำงานให้คุณตลอด 24 ชั่วโมงต่อวัน 7 วันต่ออาทิตย์ 365 วันต่อปี ซึ่งสามารถพูดได้ว่าเป็นบริษัทโฆษณาที่ดีที่สุดเลยก็ว่าได้
นี่ละครับ คือคุณประโยชน์ของการทำ Search Engine Optimization ที่พวกเราไม่สามารถปฏิเสธได้ นี่ก็เป็นเกร็ดเนื้อหาความรู้ที่เราได้นำมาฝากกันในสัปดาห์นี้นะครับ


จงอธิบายการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต ด้วยการใช้ Search Engine มาอย่างน้อย 3 ประเภท

1.Search Engine เป็นเว็บไซต์ที่มีเครื่องมือในการที่จะค้นหาเว็บไซต์ต่าง ๆ มาเก็บไว้ในฐานข้อมูลของตัวเองโดยอัตโนมัติ เช่น Google.com หรือ Altavista.com ซึ่งเครื่องมือนี้ มีชื่อเรียกว่า Search Robot จะทำหน้าที่คอยวิ่งเข้าไปอ่านข้อความจากหน้าเว็บไซต์ ของเว็บต่าง ๆ แล้วนำมาจัดลำดับคำค้นหา (Index) ที่มีในเว็บไซต์เหล่านั้น เก็บไว้ในฐานข้อมูลของตนเอง เมื่อเราเข้าไปใช้บริการ กับ Search Engine ต่าง ๆ ก็จะเป็นการไปค้นหาคำต่าง ๆ ที่ Search Engine ได้เก็บรวบรวมไว้แล้วนั่นเอง


2.Web Directory เป็นเว็บไซต์ค้นหาที่ใช้วิธีการ เพิ่มข้อมูลเข้าไปในฐานข้อมูลของระบบด้วย กำลังคน (มีเจ้าหน้าที่คอยเพิ่มข้อมูลเข้าไป) จะไม่มีการส่ง Robot ออกไปค้นด้วยตนเองแต่อย่างใด ซึ่งการจะนำชื่อเว็บไซต์ของเราให้เข้าไปอยู่ในWeb Directory นี้จะต้องไปทำการเพิ่มชื่อเข้าไปเอง เว็บประเภทนี้ก็เช่น Yahoo.com และ Dmoz.org



3.Meta Engine เป็นเว็บไซต์ที่ไปค้นหาจากเว็บไซต์ค้นหาอีกที ซึ่งเว็บประเภท Meta Crawler นี้จะทุ่นแรง โดยการนำคำทีต้องการค้น ไปค้นจากเว็บค้นหาประเภทต่าง ๆ และนำมาแสดงรวมกันให้เราดูอีกที ซึ่งก็สะดวกไปอีกแบบหนึ่งครับ เว็บประเภทนี้ก็เช่น Metacrawler.com, Go2net.com และ Thaifind.com

Search Engine มีกี่ประเภท พร้อมยกตัวอย่างการใช้งานแต่ละประเภท

Search Engine มี 3 ประเภท

Crawler Based Search Engines มีระบบการทำงานโดยใช้โปรแกรมที่เรียกว่า Spider หรือ Robot ท่องไปในเว็บเพจต่าง ๆ เพื่ออ่านข้อมูล และจะเก็บไว้อย่างเป็นระเบียบในSearch Engine Index Server

Meta Search Engine ไม่มีฐานข้อมูลของตนเอง แต่เป็นการค้นหาจากฐานข้อมูลของ Search Engine หลาย ๆ แห่ง

Classified Directory ใช้คนทำหน้าที่คัดเลือกและจัดเก็บข้อมูล มีการแบ่งกลุ่มเป็นหมวดหมู่ โดยจำแนกตามหัวเรื่อง
     แล้วจึงนำมาเป็นฐานข้อมูลในการค้นหาต่อไป

Search Engine คืออะไร

เสิร์ชเอนจิน (search engine) คือ โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต โดยครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่โปรแกรมหรือผู้ให้บริการแต่ละราย. เสิร์ชเอนจินส่วนใหญ่จะค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญ (คีย์เวิร์ด) ที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไป จากนั้นก็จะแสดงรายการผลลัพธ์ที่มันคิดว่าผู้ใช้น่าจะต้องการขึ้นมา ในปัจจุบัน เสิร์ชเอนจินบางตัว เช่น กูเกิล จะบันทึกประวัติการค้นหาและการเลือกผลลัพธ์ของผู้ใช้ไว้ด้วย และจะนำประวัติที่บันทึกไว้นั้น มาช่วยกรองผลลัพธ์ในการค้นหาครั้งต่อ ๆ ไป

สัดส่วนของผู้ใช้ในสหรัฐอเมริกา (ข้อมูลจาก นิตยสารฟอรบส์ ฉบับวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2548)

1. กูเกิล (Google) 36.9%
2. ยาฮูเสิร์ช (Yahoo! Search) 30.4%
3. เอ็มเอสเอ็นเสิร์ช (MSN Search) 15.7%

Search Engine


Search Engine

จัดทำโดย

นาย  กุลศักดิ์  เสมอภาค
เลขที่  6  ม.6/5

เสนอ

อาจารย์  ศุภสัณห์  แก้วสำราญ

ภาคเรียนที่ 1 / 2557

โรงเรียนเมืองกระบี่


วันเสาร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2557

อ้างอิง

(15.มิ.ย.57)  http://www.baanjomyut.com/

(15.มิ.ย.57)  http://www.chaiwbi.com/


ไทยอาจอยู่ทางบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยหรืออินโดจีน

กลุ่มที่เชื่อว่า ถิ่นเดิมของไทยอาจอยู่ทางบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยหรืออินโดจีน หรือบริเวณคาบสมุทรมลายู และค่อย ๆ กระจายไปทางตะวันตก และทางใต้ของอินโดจีนและทางใต้ของจีน

กลุ่มนี้ศึกษาประวัติความเป็นมาของชนชาติไทยด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์บนรากฐานของวิชาพันธุศาสตร์ คือการศึกษาความถี่ของยีนและหมู่เลือดและการศึกษาเรื่องฮีโมโกลบินอี เช่น นายแพทย์สมศักดิ์ พันธุ์สมบุญ ได้ศึกษาความถี่ของยีนและหมู่เลือด พบว่าหมู่เลือดของคนไทยคล้ายกับชาวชวาทางใต้มากกว่าจีนทางเหนือ จากการศึกษาวิธีนี้สรุปได้ว่า คนไทยมิได้สืบเชื้อสายจากคนจีน ส่วนการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับฮีโมโกลบินอีนั้น นายแพทย์ประเวศ วะสี และกลุ่มนักวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น สรุปว่า ฮีโมโกลบินอี พบมากในผู้คนในแถบเอเชียอาคเนย์ คือ ไทย ลาว พม่า มอญ และอื่น ๆ สำหรับประเทศไทยผู้คนทางภาคอีสานมีฮีโมโกลบินอีมากที่สุด (คนจีนเกือบไม่มีเลย) 

สรุป ปัจจุบันความก้าวหน้าทางวงการศึกษามีมากขึ้นและมีการแตกแขนงวิชาออกไปมากมายเพื่อหาคำตอบเรื่องของมนุษย์และสังคมที่มนุษย์อยู่ ทำให้ความรู้และความเชื่อเดิมของมนุษย์ถูกตรวจสอบอย่างจริงจัง ด้วยเหตุนี้ความเชื่อในเรื่องถิ่นกำเนิดของคนไทยซึ่งอยู่ที่มณฑลเสฉวนและทางภูเขาอัลไตจึงถูกวิพากษ์ถึงความสมเหตุสมผล และเมื่อมีการประสานกันค้นคว้าจากสหวิชาการจึงได้คำตอบในแนวใหม่ว่าคนเผ่าไทเป็นเผ่าที่อยู่กระจัดกระจายในแนวกว้างในบริเวณตอนใต้ของยูนนาน ทางตอนเหนือของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และรัฐอัสสัมของอินเดีย พื้นฐานความเชื่อใหม่นี้อาศัยหลักฐานทางประวัติศาสตร์และหลักฐานทางโบราณคดีทำให้ทราบได้ว่า คนเผ่านี้รู้จักกันในชื่อต่าง ๆ ในแต่ละท้องถิ่น เช่น ไทใหญ่ ไทอาหม ผู้ไท ไทดำ ไทขาว ไทลื้อ ไทลาว ไทยวน เป็นต้น การค้นคว้าทางประวัติศาสตร์และโบราณคดียังสอดคล้องกับการค้นคว้าทางด้านนิรุกติศาสตร์และภาษาศาสตร์ที่พบว่า คนในบริเวณตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่เรียกชนชาติไทยว่า ชาม ชาน เซม เซียม ซียาม เสียมบ้าง และในภาษาจีนเรียกว่า ส่าน ส้าน (สำหรับคนไทโดยทั่วไป) และเซียม (สำหรับไทสยาม) และความหมายของคำที่เรียกคนไทก็มีความหมายสอดคล้องกับลักษณะชีวิตทางด้านสังคมและการทำมาหากินของคนไทยเช่นคำว่า “ส่าน” ซึ่งเป็นคำภาษาจีนเรียกคนไท แปลว่า “ลุ่มแม่น้ำ” ความหมายนี้มีลักษณะสอดคล้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของชนชาติไทที่ก่อตั้งชุมชนขึ้นในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำและทำอาชีพกสิกรรม รู้จักทำทำนบหยาบ ๆ พร้อมทั้งคันคูระบายน้ำคือ เหมือง ฝาย รู้จักใช้แรงงานสัตว์และใช้เครื่องมือในการทำนา เช่น จอบ คราด ไถ 

ปัจจุบันการศึกษาค้นคว้าเรื่องถิ่นเดิมของชนชาติไทย และคนไทยในประเทศไทยปัจจุบัน คือการหันมาให้ความสนใจทางด้านวัฒนธรรมมากกว่าเรื่องเชื้อชาติ เพราะไม่มีเชื้อชาติใดในโลกนี้ที่เป็นเชื้อชาติบริสุทธิ์และยิ่งใหญ่เหนือชนเชื้อชาติอื่น ดินแดนประเทศไทยเป็นทางผ่านที่คนหลายเผ่าพันธุ์ หลายตระกูลเคลื่อนย้ายเข้ามาตั้งรกราก ประเทศไทยเป็นแหล่งสะสมของคนหลายหมู่เหล่าก่อนที่จะพัฒนาขึ้นมาเป็นรัฐประชาชาติที่เรียกว่าประเทศไทย ดังนั้นการเป็นคนไทจึงควรมองที่วัฒนธรรมไทยมากกว่าเรื่องเชื้อชาติ



ไทยอยู่บริเวณประเทศไทยปัจจุบัน

กลุ่มที่เชื่อว่าถิ่นเดิมของไทยอยู่บริเวณประเทศไทยปัจจุบัน 

พอล เบเนดิคท์ (Paul Benedict) นักภาษาศาสตร์และมนุษยวิทยาชาวอเมริกัน ค้นคว้าเรื่องเผ่าไทยโดยอาศัยหลักฐานทางภาษาศาสตร์และสรุปว่า ถิ่นเดิมของไทยน่าจะอยู่ในดินแดนประเทศไทย ตั้งแต่เมื่อประมาณ 4000-3500 ปีมาแล้ว พวกตระกูลมอญ เขมร อพยพมาจากอินเดียเข้าสู่แหลมอินโดจีนได้ผลักดันคนไทยให้กระจัดกระจายไปหลายทางขึ้นไปถึงทางใต้ของจีนปัจจุบัน ต่อมาถูกจีนผลักดันจนอพยพลงใต้ไปอยู่ในเขตอัสสัม ฉาน ลาว ไทย และตังเกี๋ย จึงมีกลุ่มชนที่พูดภาษาไทยกระจัดกระจายไปทั่ว 

นักวิชาการไทย นายแพทย์สุด แสงวิเชียร และศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี ให้ความเห็นว่าดินแดนไทยปัจจุบันเป็นที่อาศัยของหมู่ชนที่เป็นบรรพบุรุษของไทยปัจจุบัน มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์และสรุปว่าบรรพบุรุษไทยอยู่ในดินแดนประเทศไทยมาตลอด เนื่องจากหลักฐานทางโบราณคดีได้แสดงถึงความต่อเนื่องทางวัฒนธรรมรวมทั้งการศึกษาเปรียบเทียบลักษณะโครงกระดูกที่ขุดพบ

พวกเซียมมอยด์ทางตะวันตกเฉียง
เหนือและภาคกลาง ก็อพยพตามขึ้นไปบ้างเหมือนกันแต่ไม่มากเหมือนพวกแรก ไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในอาณาเขตของจีนตอนใต้
ในสมัยราชวงศ์ฮั่นตอนหลัง (ตอนสามก๊ก) ชนชาติไทยในจีนเสื่อมลง มีฐานะเป็นเพียงรัฐหนึ่งในหกรัฐของจีน จึงอพยพ
กลับลงมาทางใต้อีกครั้งหนึ่ง และอยู่กับพวกเดียวกันในแหลมทอง


คนไทยมีถิ่นกำเนิดกระจัดกระจาย

กลุ่มที่เชื่อว่าไทยมีถิ่นกำเนิดกระจัดกระจายทั่วไปในบริเวณตอนใต้ของจีนและทางเหนือของภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตลอดจนแคว้นอัสสัมของอินเดีย

 นักสำรวจชาวอังกฤษ ชื่อ โคลกูฮุน (Archibal R. Colguhon) เป็นผู้ริเริ่มความเชื่อนี้ เขาได้เดินทางจากกวางตุ้งตลอดถึงมัณฑเลย์ในพม่าและได้เขียนหนังสือชื่อ Chrysi เล่าเรื่องการเดินทางสำรวจดินแดนดังกล่าว และเขียนรายงานไว้ว่าพบคนไทยเชื้อชาติไทยในแถบนี้ งานเขียนนี้ตีพิมพ์ในอังกฤษเมื่อ พ.ศ.2428 ผู้เขียนได้รับรางวัลเหรียญทองจากสมาคมภูมิศาสตร์ของอังกฤษ ต่อมาหนังสือเล่มนี้ได้แปลเป็นภาษาฝรั่งเศสและเยอรมัน ทำให้แนวคิดนี้แพร่หลายออกไป 

นอกจากนี้มีงานค้นคว้าประเภทอาศัยการตีความหลักฐานจีนอีก เช่น งานของ E.H. Parker ปาร์คเกอร์ กงสุลอังกฤษประจำเกาะไหหลำ เขียนบทความเรื่องน่านเจ้า พิมพ์เผยแพร่เมื่อ พ.ศ.2437 โดยอาศัยตำนานจีน บทความนี้พูดถึงอาณาจักรน่านเจ้าเป็นอาณาจักรของคนไทยเฉพาะราชวงศ์สินุโลและคนไทยเหล่านี้ถูกคนจีนกดดันถึงอพยพลงมาทางใต้ งานของเขียนปาร์คเกอร์ได้รับการสนับสนุนจากทั้งนักวิชาการตะวันตกและจีน (ศาสตราจารย์ติง ศาสตราจารย์ โชนิน ศาสตราจารย์ชุนแชง) และญี่ปุ่น (โยชิโร ชิราโทริ)

งานค้นคว้าที่เดิ่นอีกคืองานของ วิลเลียม เคร์ดเนอร์ (Willian Credner) ซึ่งค้นคว้าเกี่ยวกับยูนนานโดยสำรวจภูมิประเทศและเผ่าพันธุ์ที่ตกค้างในยูนนาน สรุปว่าถิ่นเดิมของชนเผ่าไทยควรอาศัยในที่ต่ำใกล้ทะเล เช่น มณฑลกวางสี กวางตุ้ง ส่วนแถบอัลไตคนไทยไม่น่าจะอยู่เพราะคนไทยชอบปลูกข้าว ชอบดินแดนแถบร้อนไม่ชอบเนินเขา

นอกจากนี้ วูลแกรม อีเบอร์ฮาด (Wolgram E berhard) ชาวเยอรมันผู้เชี่ยวชาญด้านสังคมวิทยา มานุษยวิทยา และโบราณคดีจีน ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของไทยในงานเขียนชื่อ A History of China (พิมพ์เป็นภาษาเยอรมัน ต่อมาแปลเป็นภาษาอังกฤษ) สรุปว่าเผ่าไทยอยู่บริเวณมณฑลกวางตุ้ง ต่อมาอพยพมาอยู่แถบยูนนานและดินแดนในอ่าวตังเกี๋ย (สมัยราชวงศ์ฮั่น) ได้สร้างอาณาจักรเทียนหรือแถน และถึงสมัยราชวงศ์ถัง เผ่าไทยได้สถาปนาอาณาจักรน่านเจ้าขึ้นที่ยูนนาน

งานเขียนของบุคคลเหล่านี้ได้ให้แนวคิดแก่นักวิชาการไทยและต่างประเทศในระยะต่อมา เช่น ยอร์ช เซเดส์ ชาวฝรั่งเศส ได้สรุปว่าชนชาติไทยอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของจีน แถบตังเกี๋ย ลาว สยาม ถึงพม่า และอัสสัม

ส่วนนักวิชาการไทยที่สนใจศึกษาค้นคว้าความเป็นมาของคนไทยทั้งจากเอกสารไทยและต่างประเทศคือพระยาประชากิจกรจักร (แช่ม บุนนาค) งานเขียนของท่าน คือ พงศารโยนก ตีพิมพ์ระหว่างปี พ.ศ.2441-2442 งานชิ้นนี้สรุปว่าคนไทยมาจากตอนใต้ของจีนและ นักวิชาการไทยอีกท่านหนึ่งคือ จิตร ภูมิศักดิ์ ได้ใช้วิธีการทางนิรุกติศาสตร์ วิเคราะห์ตำนาน พงศาวดารท้องถิ่นทางเหนือของไทยและตรวจสอบกับจารึกของประเทศข้างเคียง เขียนหนังสือ ชื่อ “ความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาว และจาม และลักษณะสังคมของชื่อชนชาติ” พิมพ์เผยแพร่ พ.ศ.2519 จิตรสรุปว่าที่อยู่ของคนเผ่าไทย อาศัยอยู่กระจัดกระจายในบริเวณทางตอนใต้ของจีนและบริเวณภาคเหนือของไทย ลาว เมขร พม่า และรัฐอัสสัมในอินเดีย และให้ความเห็นเกี่ยวกับน่านเจ้าว่า น่านเจ้าเป็นรัฐทางใต้สุด เดิมจีนเรียกอาษาจักรไต - หลอหลอ (น่านเจ้า แปลว่า เจ้าทางทิศใต้)

จะเห็นได้ว่าในบรรดานักวิชาการที่เชื่อว่าอดีตของเผ่าไทยอยู่กระจัดกระจายในบริเวณตอนใต้ของจีนและบริเวณทางเหนือของไทย ลาว พม่า เวียดนาม กัมพูชา และรัฐอัสสัม และอินเดีย ต่างก็มีทัศนะที่ต่างกันในรายละเอียด โดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับอาณาจักรน่านเจ้าและนักวิชาการกลุ่มนี้เริ่มศึกษาค้นคว้า เรื่องราวของคนไทยโดยอาศัยหลักฐานหลายด้าน ทั้งด้านนิรุกติศาสตร์ มานุษยวิทยา หลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี


คนไทยอยู่แถบเทือกเขาอัลไต

กลุ่มที่เชื่อว่าถิ่นกำเนิดคนไทยอยู่แถบเทือกเขาอัลไต 
ทางตอนเหนือของประเทศจีน 

เจ้าของความคิด คือ หมอสอนศาสนาชาวอเมริกัน ชื่อ วิลเลียม คลิฟตัน ดอดด์ (William Clifton Dodd) ได้เดินทางไปสำรวจความเป็นอยู่ของชาติต่าง ๆ ในดินแดนใกล้เคียงพร้อมทั้งเผยแพร่ศาสนาด้วย โดยเริ่มจากเชียงราย เชียงตุง สิบสองปันนา ยูนนาน จนถึง ฝั่งทะเลกวางตุ้ง ผลจากการสำรวจปรากฏในงานเขียนเรื่อง The Thai Race : The Elder Brother of the Chinese ซึ่งเขียนขึ้นในปี พ.ศ.2452 งานเขียนนี้สรุปว่าไทยสืบเชื้อสายจากมองโกลและเป็นชาติเก่าแก่กว่าจีนและฮิบรู งานเขียนของหมอดอดด์ ได้รับความสนใจทั้ง ชาวไทยและต่างประเทศ นักวิชาการไทยคนสำคัญที่สืบทอดความคิดของหมอดอดด์ คือ ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธ์) ได้เขียนงานเขียนชื่อ “หลักไทย” เป็นหนังสือแต่งทางประวัติศาสตร์ ได้รับพระราชทานรางวัลของพระบาทสมเด็กพระปกเกล้าฯ กับประกาศนียบัตรวรรณคดีของราชบัณฑิตยสภา ใน พ.ศ.2471 ในหนังสือ หลักไทย สรุปว่าแหล่งกำเนิดของคนไทยอยู่บริเวณเทือกเขาอัลไต (แหล่งกำเนิดของมองโกลด้วย) หลักสูตรไทยได้ใช้เป็นตำราเรียนประวัติศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการเป็นเวลานาน แต่ปัจจุบัน แนวคิดนี้ได้รับการยอมรับน้อยมาก 

3,881 ปีหลังจากจดหมายเหตุฉบับนี้ คือ ในปี ค.ศ.1901 หมอดอดจ์เดินทางไปในในดินแดนนี้ยังได้พบคนไทยที่เรียน
ตนเองว่า ลุง และ ปา แต่จีนเรียกว่า ลุงเชนแปลว่าประชาชนชาวลุง และพวก ปาเรียกว่า ปายี่แปลว่าคนป่าเถื่อน
พวกไทยมุงที่เรียกตนเองว่าอ้ายลาวนั้นเป็นพวกเก่าแก่โบราณกว่า พวกบาบิโลน อัสสิเรีย และอียิปต์
ในหนังสือแสดงพงศาวดารสยาม พระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพว่าชนชาติไทย
เป็นชาติใหญ่ชาติหนึ่งในเอเชียฝ่ายตะวันออกมาตั้งแต่ก่อนพุทธกาล แม้ในทุกวันนี้นอกจากนามสยามประเทศนี้ ยังมีชนชาติไทย
ตั้งภูมิลำเนาอยู่ในประเทศอื่นอีกเป็นอันมาก ที่อยู่ในดินแดนประเทศจีนก็หลายมณฑล ทั้งในแดนตังเกี๋ย แดนพม่า ตลอดจน
มณฑลอัสสัมในประเทศอินเดีย แต่คนทั้งหลายหากเรียกชื่อต่าง ๆ กันไปตามถิ่นที่อยู่ เช่น เรียกชาวสยาม ลาว เฉียง ฉาน เงี้ยว ลื้อ
เขิน และอาหม ที่เรียกตามเค้านามเดิมก็มีบ้าง เช่น ผู้ไท ที่แท้พวกที่ได้นามต่าง ๆ ที่กล่าวมานี้ล้วนเป็นชนชาติไทย พูดภาษาไทย
และถือตัวว่าเป็นคนไทยด้วยกันทั้งนั้น ตามเรื่องพงศาวดารเดิมที่ปรากฏมาว่า เดิมนั้นชนชาติไทยตั้งภูมิลำเนาอยู่ในดินแดนทุกวันนี้
ตกเป็นอาณาเขตของจีนฝ่ายใต้ ที่เรียกว่ามณฑลฮุนหนำ มณฑลกุยจิ๋ว มณฑลกวางตุ้ง มณฑลกวางใส ทั้งสี่มณฑลนี้มีบ้านเมืองและ
เจ้านายของตนปกครองแยกย้ายกันอยู่ในหลายอาณาเขต จีนเรียกชนชาติไทยพวกนี้ว่า ฮวน
ในปัจจุบัน ยังมีคนไทยอยู่ในอาณาเขตตอนใต้ของจีนอีกมาก ในมณฑลไกวเจาและมณฑลกวางสีและในตะวันออกของ
ยูนนานแม้รัฐบาลจีนในปัจจุบันได้ประกาศว่า คนจีนแคะ ที่แท้เป็นคนไทย ยอมให้แยกตัวเป็นรัฐอยู่ภายใต้สาธารณรัฐประชาชนจีน



คนไทยอยู่ในบริเวณมณฑลเสฉวน


กลุ่มที่เชื่อว่าถิ่นกำเนิดคนไทยอยู่ในบริเวณมณฑลเสฉวน ประเทศจีน 

เตเรียน เดอ ลาคูเปอรี (Terrien de la couperie) ศาสตราจารย์ชาวอังกฤษ ประจำมหาวิทยาลัยลอนดอน ผู้เชี่ยวชาญทางภาษาศาสตร์ของอินโดจีน เป็นเจ้าของความคิดนี้ ผลงานของท่านชื่อ The Cradle of the Shan Race ตีพิมพ์ พ.ศ.2428 อาศัยหลักฐานจีนโดยพิจารณาความคล้ายคลึงกันทางภาษาของผู้คนในจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แล้วสรุปว่า คนเชื้อชาติไทยตั้งถิ่นฐานในดินแดนจีนก่อนจีน คือเมื่อ 2208 ปีก่อนคริสตกาล ดังปรากฏในรายงานการสำรวจภูมิประเทศจีน ถิ่นที่อยู่ของคนไทยที่ปรากฏในจดหมายเหตุจีนนี้อยู่ในเขตมณฑลเสฉวนในปัจุบัน
งานของลาคูเปอรี ได้รับการสืบทอดต่อมาในงานเขียนของนักวิชาการไทย เช่น สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ประภาศิริ เสฐียรโกเศศ พระยาอนุมานราชธน หลวงวิจิตรวาทการ และศาสตราจารย์รอง ศยามานนท์
สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเสนอความเห็นไว้ว่า คนไทยน่าจะอยู่แถบดินแดนทิเบตต่อกับจีน
( มณฑลเสฉวนปัจจุบัน ) ราว พ.ศ. 500 ถูกจีนรุกรานจึงอพยพมาอยู่ที่ยูนนานทางตอนใต้ของจีน แล้วกระจายไปตั้ง
ถิ่นฐานบริเวณเงี้ยว ฉาน สิบสองจุไท ล้านนา ล้านช้าง

    หลวงวิจิตรวาทการ ได้กล่าวถึงถิ่นกำเนิดของคนไทยไว้ว่า คนไทยมีถิ่นกำเนิดอยู่ในดินแดนซึ่งเป็นมณฑลเสฉวน
ฮู เป อันฮุย และเกียงซีตอนกลางของ ประเทศจีนปัจจุบัน ก่อนที่จีนจะอพยพเข้ามา แล้วค่อย ๆ อพยพสู่มณฑลยูนนาน และแหลมอินโดจีนต่อมาภายหลังเมื่อมีการศึกษาค้นคว้าทางด้านมานุษยวิทยาและ ภาษาศาสตร์รวมทั้งการตรวจสอบ
หลักฐานจดหมายเหตุของจีนเป็นจำนวนมาก ปรากฏว่าสมมติฐานดังกล่าวไม่น่าจะเป็นไปได้ทำให้แนวความคิดที่ว่า
คนไทยมีถิ่นฐานเดิมอยู่บริเวณมณฑลเสฉวนของจีน ไม่ได้รับการยอมรับอีกต่อไป

แนวคิดเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดคนไทย

แนวคิดเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดคนไทย

การศึกษาค้นคว้าความเป็นมาของผู้คนในดินแดนต่าง ๆ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 
รวมทั้งประเทศไทย เริ่มขึ้นโดยชาวตะวันตกซึ่งใช้วิธีการค้นคว้า คือ เดินทางไปสำรวจด้วย
ตนเอง สอบสวนค้นคว้าทางภาษา การแต่งกาย ความเป็นอยู่ สภาพบ้านเมือง ขนบธรรมเนียม
ประเพณี ศิลปะและอื่น ๆ แล้วนำข้อมูลที่ได้จากประจักษ์พยานไปประมวลเป็นงานเขียนหรือ
รายงานการสำรวจ และอีกวิธีคือ สืบค้นนำข้อมูลที่ได้จากประจักษ์พยานไปประมวลเป็นงาน
ค้นคว้าของชาวต่างประเทศที่เรียบเรียงไว้ ดังนั้นวิธีการดังกล่าวรวมทั้งการศึกษาค้นคว้าของ
คนไทยได้ก่อให้เกิดความหลากหลายในทัศนะเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของคนไทย ดังนี้


คำนำ

คำนำ

       รายงายนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่อง
  ชนชาติไทยมาจากไหนเกียวกับแนวคิดกำเนิดคนไทยว่าเป็นมายังไง รายงานฉบับนี้ก็จะช่วยให้รู้เกี่ยวกับเรื่องนี้มากยิ่งขึ้น
      รายงานเล่มนี้ทำเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสูตรการสอนภายในโรงเรียนตามความเหมาะสม
ขอขอบคุณทุกเว็ปไซต์ที่กระผมได้เข้าไปสืบค้นหาข้อมูลทั้งหมดเพื่อให้เล่มงาน
เล่มนี้เสร็จลุล่วงด้วยดีไว้ ณ โอกาสนี้



                                                                                                                   

                                                                                                          กุลศักดิ์ เสมอภาค

ชนชาติไทยมาจากไหน



เสนอ

อาจารย์ ศุภสัณห์  แก้วสำราญ


 จัดทำโดย

นาย  กุลศักดิ์   เสมอภาค  

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6/5   เลขที่  6


รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต

ภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2557

โรงเรียนเมืองกระบี่